เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อปฐวีธาตุที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ (1)
[174] อาโปธาตุ เป็นไฉน
อาโปธาตุมี 2 อย่าง คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในอาโปธาตุ 2 อย่างนั้น อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ
ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในตน มี
เฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใด
มีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน
อาโปธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น น้ำรากไม้ น้ำลำต้น น้ำเปลือกไม้ น้ำใบไม้
น้ำดอกไม้ น้ำผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำในพื้นดิน
น้ำในอากาศ หรือความเอิบอาบ ธรรมชาติที่ซึมซาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่
เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุ
ที่เป็นภายนอก
ประมวลย่ออาโปธาตุที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียว
กัน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :135 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
[175] เตโชธาตุ เป็นไฉน
เตโชธาตุมี 2 อย่าง คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในเตโชธาตุ 2 อย่างนั้น เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่น เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
ซึ่งเป็นภายในตน เช่น เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ที่
ทำให้เร่าร้อนและที่ทำให้ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ถึงความย่อยไปด้วยดี
หรือความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่
อบอุ่น เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน
เตโชธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่น เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็น
ภายนอกตน เช่น ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟ
อสนิบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน
ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอกตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้
เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อเตโชธาตุที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ (3)
[176] วาโยธาตุ เป็นไฉน
วาโยธาตุมี 2 อย่าง คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในวาโยธาตุ 2 อย่างนั้น วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป เป็นภายในตน
มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :136 }