เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [2.อายตนวิภังค์] 3.ปัญหาปุจฉกะ 2.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ 10 ไม่มีวิตก อายตนะ 2 ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
อายตนะ 10 ไม่มีวิจาร อายตนะ 2 ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
อายตนะ 10 ไม่มีปีติ อายตนะ 2 ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
อายตนะ 10 ไม่สหรคตด้วยปีติ อายตนะ 2 ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี
อายตนะ 10 ไม่สหรคตด้วยสุข อายตนะ 2 ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
อายตนะ 10 ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อายตนะ 2 ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อายตนะ 10 เป็นกามาวจร อายตนะ 2 ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
กามาวจรก็มี
อายตนะ 10 ไม่เป็นรูปาวจร อายตนะ 2 ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
อายตนะ 10 ไม่เป็นอรูปาวจร อายตนะ 2 ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
อรูปาวจรก็มี
อายตนะ 10 นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อายตนะ 2 ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
อายตนะ 10 ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อายตนะ 2 ที่เป็นเหตุนำออก
จากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
อายตนะ 10 ให้ผลไม่แน่นอน อายตนะ 2 ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่
นอนก็มี
อายตนะ 10 มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อายตนะ 2 ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
อายตนะ 10 ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ อายตนะ 2 ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อายตนวิภังค์ จบบริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :133 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [3.ธาตุวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์
3. ธาตุวิภังค์
1. สุตตันตภาชนีย์
[172] ธาตุ 6 คือ

1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาต (ธาตุไฟ)
4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
5. อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง)
6. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

[173] บรรดาธาตุ 6 นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุมี 2 อย่าง คือ ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในปฐวีธาตุ 2 อย่างนั้น ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน
มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม
ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง
ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน
ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น เหล็ก
โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว
ประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด
กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :134 }