เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 5.วิญญาณขันธ์
ผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
สังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารไกล
สังขารใกล้ เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศลเป็น
สังขารใกล้กับสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขาร
ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้า
สมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารใกล้
พึงทราบสังขารไกล สังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

5. วิญญาณขันธ์
[26] บรรดาขันธ์ 5 นั้น วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง1 คือ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็นภายนอกตน
วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต วิญญาณไกล
หรือวิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์

เชิงอรรถ :
1 ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ 4 คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. 26/23)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :13 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [1.ขันธวิภังค์] 1.สุตตันตภาชนีย์ 5.วิญญาณขันธ์
[27] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด
เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอนาคต
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน
[28] วิญญาณที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายในตน
วิญญาณที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
วิญญาณใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายนอกตน
[29] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
เป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่
เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :14 }