เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [2.อายตนวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
[164] คันธายตนะ เป็นไฉน
กลิ่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ ด้วยฆานะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธายตนะ1 (9)
[165] รสายตนะ เป็นไฉน
รสใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม
ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะ
บ้าง รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสายตนะ2 (10)
[166] โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข
มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง
หรือพึงถูกต้องโผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า
โผฏฐัพพายตนะ3 (11)
[167] ธัมมายตนะ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่ง
นับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง4
เวทนาขันธ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/624/192 2 อภิ.สงฺ. 34/628/193
3 อภิ.สงฺ. 34/647/196
4 คำบาลีคือ อสงฺขตา ธาตุ แปลว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพาน (อภิ.วิ.อ. 167/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :117 }