เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [2.อายตนวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
มนายตนะหมวดละ 3 ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
มนายตนะหมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า มนายตนะ (6)
[162] รูปายตนะ เป็นไฉน
รูปใดเป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ เช่น
สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท1 สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว
สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม
ดอน เงา แดด สว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์
แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์
แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด ที่เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็น
ได้และกระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปใดที่เห็น
ได้และกระทบได้ ด้วยจักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง
รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ2 (7)
[163] สัททายตนะ เป็นไฉน
เสียงใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น เสียงกลอง
เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง
ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์
เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
มีอยู่ เช่น บุคคลเคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
ด้วยโสตะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุ
บ้าง นี้เรียกว่า สัททายตนะ3 (8)

เชิงอรรถ :
1 สีหงสบาท สีคล้ายเท้าหงส์ สีแดงปนเหลือง สีแดงเรื่อ หรือ สีแสดก็ว่า (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย-
สถาน พ.ศ. 2525)
2 อภิ.สงฺ. 34/616/188 3 อภิ.สงฺ. 34/620/190

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :116 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [2.อายตนวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์
[164] คันธายตนะ เป็นไฉน
กลิ่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ ด้วยฆานะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธายตนะ1 (9)
[165] รสายตนะ เป็นไฉน
รสใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม
ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป 4 เป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะ
บ้าง รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสายตนะ2 (10)
[166] โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข
มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง
หรือพึงถูกต้องโผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า
โผฏฐัพพายตนะ3 (11)
[167] ธัมมายตนะ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่ง
นับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง4
เวทนาขันธ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/624/192 2 อภิ.สงฺ. 34/628/193
3 อภิ.สงฺ. 34/647/196
4 คำบาลีคือ อสงฺขตา ธาตุ แปลว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพาน (อภิ.วิ.อ. 167/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :117 }