เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ 1
[309] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[310] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
[311] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[312] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโลภะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[313] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :96 }