เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ 1
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[285] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[286] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[287] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน
ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[288] สัทธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[289] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[290] สตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :91 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ 1
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[291] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่
ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[292] ปัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้จัก ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะ
ที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องละกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[293] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[294] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุขอัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :92 }