เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ 1
สัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ
เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อรูปาวจรกุศลจิต จบ

โลกุตตรกุศลจิต
สุทธิกปฏิปทา
มรรคจิตดวงที่ 1
[277] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :89 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ 1
ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[278] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[279] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[280] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[281] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[282] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[283] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นในอารมณ์
ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[284] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :90 }