เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
กุศลจิตดวงที่ 8
[159] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กามาวจรมหากุศลจิตทั้ง 8 ดวง จบ
ทุติยภาณวาร จบ

รูปาวจรกุศลจิต
จตุกกนัย
[160] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรค1 เพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีวิตก วิจาร ปีติ และสุข อัน
เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาว
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[161] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็น
หนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

เชิงอรรถ :
1 คำว่า เจริญมรรค หมายถึงอุบายหรือเหตุที่จะให้ได้ไปเกิดในรูปภพ (อภิ.สงฺ.อ. 214)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :57 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
กุศล ฯลฯ
ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 8 ฌานมีองค์ 3 มรรค
มีองค์ 4 พละ 7 เหตุ 3 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธัมมายตนะ 1 และธัมมธาตุ 1 ใน
สมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[162] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[163] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ที่
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
กุศล ฯลฯ
ขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 อาหาร 3 อินทรีย์ 8 ฌานมีองค์ 2 มรรคมี
องค์ 4 พละ 7 เหตุ 3 ผัสสะ 1 ฯลฯ ธัมมายตนะ 1 และธัมมธาตุ 1 ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :58 }