เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 5
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ
อนภิชฌา อัพยาบาท หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กาย-
ปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

กุศลจิตดวงที่ 4
[149] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

กุศลจิตดวงที่ 5
[150] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :53 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 5
อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ
วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[151] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[152] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
มโนธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[153] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[154] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/220/147

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :54 }