เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 โกฏฐาสวาร
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
[102] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าพละ 7 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[103] เหตุ 3 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เหตุ 3 คือ
1. อโลภะ
2. อโทสะ
3. อโมหะ
[104] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อโลภะที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[105] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[106] อโมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :46 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 โกฏฐาสวาร
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุ 3 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[107] ผัสสะ 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะ 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[108] เวทนา 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าเวทนา 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[109] สัญญา 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญา 1 ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[110] เจตนา 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนา 1 ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[111] จิต 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิต 1 ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[112] เวทนาขันธ์ 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :47 }