เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 โกฏฐาสวาร
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[82] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอินทรีย์ 8 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[83] ฌานมีองค์ 5 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฌานมีองค์ 5 คือ
1. วิตก
2. วิจาร
3. ปีติ
4. สุข
5. เอกัคคตา
[84] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[85] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[86] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :42 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 โกฏฐาสวาร
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[87] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[88] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้ง
ซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น สภาวธรรมนี้ชื่อว่าฌานมีองค์ 5 ที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[89] มรรคมีองค์ 5 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
มรรคมีองค์ 5 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
4. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
5. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[90] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :43 }