เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ มหันตรทุกะ
[1524] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สภาวธรรมที่เป็น
ปรามาสและสัมปยุตด้วยปรามาสกล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์
ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
ปรามาสโคจฉกะ จบ

10. มหันตรทุกะ
1. สารัมมณทุกะ
[1525] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบากในภูมิ 4 และอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ได้
[1526] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นไฉน
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
2. จิตตทุกะ
[1527] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต
[1528] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่เป็นจิต
3. เจตสิกทุกะ
[1529] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเจตสิก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :372 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ มหันตรทุกะ
[1530] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเจตสิก
4. จิตตสัมปยุตตทุกะ
[1531] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยจิต
[1532] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต เป็นไฉน
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากจิต จิตกล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
5. จิตตสังสัฏฐทุกะ
[1533] สภาวธรรมที่ระคนกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
[1534] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต เป็นไฉน
รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคนกับจิต จิตกล่าวไม่ได้ว่า
ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
6. จิตตสมุฏฐานทุกะ
[1535] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือรูป
แม้อื่นที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
จิตเป็นสมุฏฐาน
[1536] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :373 }