เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ สัญโญชนโคจฉกะ
ทิฏฐิ 4 วิจิกิจฉาสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา 1 สีลัพพต-
ปรามาสสังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ภวราคสังโยชน์เกิดขึ้นใน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะที่วิปปยุตจากทิฏฐิ 4 อิสสาสังโยชน์และมัจฉริย-
สังโยชน์เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส 2 อวิชชาสังโยชน์เกิดขึ้นในอกุศล
ทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสังโยชน์
[1478] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ 3 รูปทั้งหมด และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นสังโยชน์
2. สัญโญชนิยทุกะ
[1479] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 3 อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
[1480] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
3. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[1481] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสังโยชน์
[1482] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นไฉน
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์
4. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
[1483] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
สังโยชน์เหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :363 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ทุกอัตถุทธาระ สัญโญชนโคจฉกะ
[1484] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3 อัพยากตกิริยาในภูมิ
3 รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์
ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
5. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[1485] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน
สังโยชน์ 2 สังโยชน์ 3 เกิดร่วมกันในสภาวธรรมเหล่าใด สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
[1486] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
อกุศลที่เหลือ เว้นสังโยชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
สัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
6. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
[1487] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3 อัพยากตกิริยาใน
ภูมิ 3 และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์
ของสังโยชน์
[1488] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยสังโยชน์กล่าวไม่ได้ว่าวิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สัญโญชนโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :364 }