เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
[1418] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน
กุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
มหัคคตะ
[1419] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัปปมาณะ
13. ปริตตารัมมณติกะ
[1420] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
กามาวจรวิบากทั้งหมด มโนธาตุที่เป็นกิริยา มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุก-
กิริยาซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปริตตะเป็นอารมณ์
[1421] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
[1422] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล 4 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล 4 จิตตุปบาทที่เป็นญาณ-
วิปปยุตฝ่ายกิริยา 4 อกุศลทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะ
เป็นอารมณ์หรือมีมหัคคตะป็นอารมณ์ก็มี จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่าย
กามาวจรกุศล 4 ฝ่ายกิริยา 4 รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและกิริยา มโน-
วิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกกิริยาซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี
ปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี ฌาน 3 และฌาน 4 ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :350 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้
กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ รูปและนิพพานชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
14. หีนติกะ
[1423] สภาวธรรมชั้นต่ำ เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นต่ำ
[1424] สภาวธรรมชั้นกลาง เป็นไฉน
กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3 อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นกลาง
[1425] สภาวธรรมชั้นประณีต เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นประณีต
15. มิจฉัตตติกะ
[1426] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต 4 จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส 2
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
[1427] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอน
[1428] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภ วิปปยุตจากทิฏฐิ 4 จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3
อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :351 }