เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ 4 วิบาก
ในภูมิ 4 อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน 3
10. อาจยคามิติกะ
[1411] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ เป็นไฉน
กุศลในภูมิ 3 และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
[1412] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึง
นิพพาน
[1413] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน เป็นไฉน
วิบากในภูมิ 4 อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
11. เสกขติกะ
[1414] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผลเบื้องต่ำ 3 สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นของเสขบุคคล
[1415] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล เป็นไฉน
อรหัตตผลที่เป็นผลเบื้องบน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของอเสขบุคคล
[1416] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นไฉน
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 3 อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 รูป และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
12. ปริตตติกะ
[1417] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ เป็นไฉน
กามาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบากทั้งหมด กามาวจรอัพยากตกิริยา
และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปริตตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :349 }