เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
4. อัฏฐกถากัณฑ์
ติกอัตถุทธาระ
1. กุสลติกะ
[1384] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 4 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[1385] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล 12 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[1386] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากในภูมิ 4 อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
2. เวทนาติกะ
[1387] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ฝ่ายอกุศล 4 ฝ่ายวิบาก
แห่งกามาวจรกุศล 5 และฝ่ายกิริยาอย่างละ 5 ดวง ฌาน 3 และฌาน 4 ที่เป็น
รูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน 3 และฌาน 4 ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศล
และวิบาก เว้นสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา
[1388] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส 2 และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เว้น
ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยทุกข-
เวทนา
[1389] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ฝ่ายอกุศล 6 ฝ่าย
วิบากแห่งกามาวจรกุศล 10 ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล 6 ฝ่ายกิริยา 6 รูปาวจร-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :344 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [4. อัฏฐกถากัณฑ์] ติกอัตถุทธาระ
จตุตถฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูปาวจร 4 ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา
โลกุตตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตนี้แล้ว
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เวทนา 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
3. วิปากติกะ
[1390] สภาวธรรมที่เป็นวิบาก เป็นไฉน
วิบากในภูมิ 4 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นวิบาก
[1391] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
กุศลในภูมิ 4 และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[1392] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
4. อุปาทินนติกะ
[1393] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
วิบากในภูมิ 3 และรูปอันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[1394] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
กุศลในภูมิ 3 อกุศล อัพยากตกิริยาในภูมิ 3 และรูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
[1395] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :345 }