เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
37. สีลวิสุทธิทุกะ
[1372] ความหมดจดแห่งศีล เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด
ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความหมดจดแห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า
ความหมดจดแห่งศีล
[1373] ความหมดจดแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน
ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ญาณที่สมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ
ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยผล
38. ทิฏฐิวิสุทธิโขปนทุกะ
[1374] ที่ชื่อว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
[1375] ที่ชื่อว่า ความเพียรของบุคคลผู้มีความเห็นหมดจด ได้แก่
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
39. สังเวชนียัฏฐานทุกะ
[1376] ที่ชื่อว่า ความสลดใจ ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณ
ที่เห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณที่เห็นมรณะ
โดยความเป็นภัย ชื่อว่าฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ
มรณะ
[1377] ที่ชื่อว่า ความเพียรโดยแยบคายของบุคคลผู้สลดใจ ได้แก่ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อทำบาปอกุศลธรรมอันยังไม่เกิดไม่ให้เกิด เพื่อละบาปอกุศลธรรมอันเกิดแล้ว
เพื่อทำกุศลธรรมอันยังไม่เกิดให้เกิด เพื่อความตั้งมั่น ไม่เลอะเลือน ภิยโยภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมอันเกิดแล้ว1

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/390/249

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :342 }