เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
31. ปฏิสังขานพลทุกะ
[1360] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่ากำลังคือการพิจารณา
[1361] กำลังคือภาวนา เป็นไฉน
การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรม นี้เรียกว่ากำลังคือภาวนา
แม้โพชฌงค์ 7 ก็เรียกว่ากำลังคือภาวนา
32. สมถวิปัสสนาทุกะ
[1362] สมถะ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าสมถะ
[1363] วิปัสสนา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าวิปัสสนา
33. สมถนิมิตตทุกะ
[1364] นิมิตแห่งสมถะ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่านิมิตของสมถะ
[1365] นิมิตแห่งความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่านิมิตแห่ง
ความเพียร
34. ปัคคาหทุกะ
[1366] ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่าความเพียร
[1367] ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าความไม่ฟุ้งซ่าน

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :340 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
35. สีลวิปัตติทุกะ
[1368] ความวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน
การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทางกายและ
ทางวาจา นี้เรียกว่าความวิบัติแห่งศีล ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติ
แห่งศีล1
[1369] ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า มารดาไม่มีคุณ บิดา
ไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความวิบัติ
แห่งทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดก็ชื่อว่าความวิบัติแห่งทิฏฐิ1
36. สีลสัมปทาทุกะ
[1370] ความสมบูรณ์แห่งศีล เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิด
ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า
ความสมบูรณ์แห่งศีล
[1371] ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผล
วิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่
เกิดผุดขึ้นก็มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เรียกว่าความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/907/441

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :341 }