เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
31. ปฏิสังขานพลทุกะ
[1360] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่ากำลังคือการพิจารณา
[1361] กำลังคือภาวนา เป็นไฉน
การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรม นี้เรียกว่ากำลังคือภาวนา
แม้โพชฌงค์ 7 ก็เรียกว่ากำลังคือภาวนา
32. สมถวิปัสสนาทุกะ
[1362] สมถะ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าสมถะ
[1363] วิปัสสนา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่าวิปัสสนา
33. สมถนิมิตตทุกะ
[1364] นิมิตแห่งสมถะ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่านิมิตของสมถะ
[1365] นิมิตแห่งความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่านิมิตแห่ง
ความเพียร
34. ปัคคาหทุกะ
[1366] ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่าความเพียร
[1367] ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าความไม่ฟุ้งซ่าน

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :340 }