เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
19. อาปัตติกุสลตาทุกะ
[1336] ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ เป็นไฉน
อาบัติทั้ง 5 กอง 7 กอง เรียกว่าอาบัติ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความ
ไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในอาบัตินั้น ๆ นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ
[1337] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากอาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากอาบัติ
20. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
[1338] ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ เป็นไฉน
สมาบัติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาบัติที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี สมาบัติที่
ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในสมาบัติแห่งสมาบัติเหล่านั้น นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
[1339] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากสมาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
21. ธาตุกุสลตาทุกะ
[1340] ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ 18 คือ

1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ
3. จักขุวิญญาณธาตุ 4. โสตธาตุ
5. สัททธาตุ 6. โสตวิญญาณธาตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :334 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ

7. ฆานธาตุ 8. คันธธาตุ
9. ฆานวิญญาณธาตุ 10. ชิวหาธาตุ
11. รสธาตุ 12. ชิวหาวิญญาณธาตุ
13. กายธาตุ 14. โผฏฐัพพธาตุ
15. กายวิญญาณธาตุ 16. มโนธาตุ
17. ธัมมธาตุ 18. มโนวิญญาณธาตุ

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในธาตุเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
[1341] ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการพิจารณาธาตุเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาด
ในการพิจารณา
22. อายตนกุสลตาทุกะ
[1342] ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นไฉน
อายตนะ 12 คือ

1. จักขายตนะ 2. รูปายตนะ
3. โสตายตนะ 4. สัททายตนะ
5. ฆานายตนะ 6. คันธายตนะ
7. ชิวหายตนะ 8. รสายตนะ
9. กายายตนะ 10. โผฏฐัพพายตนะ
11. มนายตนะ 12. ธัมมายตนะ

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในอายตนะแห่งอายตนะเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในอายตนะ
[1343] ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :335 }