เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
19. อาปัตติกุสลตาทุกะ
[1336] ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ เป็นไฉน
อาบัติทั้ง 5 กอง 7 กอง เรียกว่าอาบัติ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความ
ไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในอาบัตินั้น ๆ นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ
[1337] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากอาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากอาบัติ
20. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
[1338] ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ เป็นไฉน
สมาบัติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาบัติที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี สมาบัติที่
ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในสมาบัติแห่งสมาบัติเหล่านั้น นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
[1339] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากสมาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
21. ธาตุกุสลตาทุกะ
[1340] ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ 18 คือ

1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ
3. จักขุวิญญาณธาตุ 4. โสตธาตุ
5. สัททธาตุ 6. โสตวิญญาณธาตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :334 }