เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม นี้เรียกว่าโอตตัปปะ
17. โทวจัสสตาทุกะ
[1332] ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน
กิริยาของผู้ว่ายาก ภาวะของผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือข้าง
ขัดขืน ความพอใจในการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่
เคารพ และการไม่รับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบ นี้เรียกว่าความเป็นผู้ว่ายาก1
[1333] ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ทุศีล สดับมาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสพ
การส้องเสพ การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดีต่อ
บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว1
18. โสวจัสสตาทุกะ
[1334] ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นไฉน
กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะของผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดถือข้าง
ขัดขืน ความไม่พอใจในการโต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งความเอื้อเฟื้อ ความเป็น
ผู้ความเคารพ และการรับฟัง ในเมื่อถูกสหธรรมิกว่ากล่าวอยู่ นี้เรียกว่าความเป็น
ผู้ว่าง่าย
[1335] ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นไฉน
บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูตร มีจาคะ มีปัญญา การเสพ การส้องเสพ
การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดี ต่อบุคคล
เหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็น
ผู้มีมิตรดี

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/90/439,927/451,931/453

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :333 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
19. อาปัตติกุสลตาทุกะ
[1336] ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ เป็นไฉน
อาบัติทั้ง 5 กอง 7 กอง เรียกว่าอาบัติ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความ
ไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในอาบัตินั้น ๆ นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ
[1337] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากอาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากอาบัติ
20. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
[1338] ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ เป็นไฉน
สมาบัติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาบัติที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี สมาบัติที่
ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในสมาบัติแห่งสมาบัติเหล่านั้น นี้
เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
[1339] ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการออกจากสมาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
21. ธาตุกุสลตาทุกะ
[1340] ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ 18 คือ

1. จักขุธาตุ 2. รูปธาตุ
3. จักขุวิญญาณธาตุ 4. โสตธาตุ
5. สัททธาตุ 6. โสตวิญญาณธาตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :334 }