เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
6. อธิวจนทุกะ
[1313] ธรรมที่เป็นชื่อ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ
การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่เป็นชื่อ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งชื่อ
7. นิรุตติทุกะ
[1314] ธรรมที่เป็นนิรุตติ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การ
ออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิรุตติ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งนิรุตติ
8. ปัญญัตติทุกะ
[1315] ธรรมที่เป็นบัญญัติ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ
การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นบัญญัติ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งบัญญัติ
9. นามรูปทุกะ
[1316] บรรดาธรรมเหล่านั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
นี้เรียกว่านาม
[1317] รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นี้เรียกว่ารูป
10. อวิชชาทุกะ
[1318] อวิชชา เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :330 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
[1319] ภวตัณหา เป็นไฉน
ความพอใจภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่าภวตัณหา1
11. ภวทิฏฐิทุกะ
[1320] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าภวทิฏฐิ1
[1321] วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิภวทิฏฐิ1
12. สัสสตทิฏฐิทุกะ
[1322] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสัสสตทิฏฐิ2
[1323] อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึด
ถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอุจเฉททิฏฐิ2
13. อันตวาทิฏฐิทุกะ
[1324] ความเห็นว่ามีที่สุด เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความเห็นว่ามีที่สุด3

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/895/438,896/438 2 อภิ.วิ. 35/897/438 3 อภิ.วิ. 35/898/439

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :331 }