เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
[1306] ธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า เป็นไฉน
ปัญญาในอรหัตตมรรคอันเป็นมรรคเบื้องสูง ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเปรียบเหมือน
ฟ้าผ่า
3. พาลทุกะ
[1307] ธรรมที่ทำให้เป็นพาล เป็นไฉน
ความไม่ละอายบาปและความไม่เกรงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าทำให้เป็น
พาล อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าทำให้เป็นพาล
[1308] ธรรมที่ทำให้เป็นบัณฑิต เป็นไฉน
ความละอายบาปและความเกลงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าทำให้เป็นบัณฑิต
กุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าทำให้เป็นบัณฑิต
4. กัณหทุกะ
[1309] ธรรมที่ดำ เป็นไฉน
ความไม่ละอายบาปและความไม่เกรงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ดำ
อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าธรรมที่ดำ
[1310] ธรรมที่ขาว เป็นไฉน
ความละอายบาปและความเกรงกลัวบาป ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ขาว
กุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าธรรมที่ขาว
5. ตปนียทุกะ
[1311] ธรรมที่ทำให้เร่าร้อน เป็นไฉน
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าทำให้เร่าร้อน อกุศล-
ธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าทำให้เร่าร้อน
[1312] ธรรมที่ไม่ทำให้เร่าร้อน เป็นไฉน
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ทำให้เร่าร้อน
กุศลธรรมแม้ทั้งหมดชื่อว่าไม่ทำให้เร่าร้อน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :329 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
6. อธิวจนทุกะ
[1313] ธรรมที่เป็นชื่อ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ
การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่เป็นชื่อ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งชื่อ
7. นิรุตติทุกะ
[1314] ธรรมที่เป็นนิรุตติ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การ
ออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิรุตติ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งนิรุตติ
8. ปัญญัตติทุกะ
[1315] ธรรมที่เป็นบัญญัติ เป็นไฉน
การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ
การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อแห่งธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นบัญญัติ
ธรรมทั้งหมดชื่อว่าเป็นเหตุแห่งบัญญัติ
9. นามรูปทุกะ
[1316] บรรดาธรรมเหล่านั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
นี้เรียกว่านาม
[1317] รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นี้เรียกว่ารูป
10. อวิชชาทุกะ
[1318] อวิชชา เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :330 }