เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
12. รูปาวจรทุกะ
[1289] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ1 ของผู้ที่กำลังอุบัติ2 หรือของ
ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน3 ที่ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ
กำหนดพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูง กำหนดเทพชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูปาวจร
[1290] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปาวจร
13. อรูปาวจรทุกะ
[1291] สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ4 ของผู้ที่กำลังอุบัติ5 หรือ
ของผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน6 ที่ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ
กำหนดเทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องสูง กำหนดเทพผู้เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอรูปาวจร
[1292] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
กามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่
เป็นอรูปาวจร
14. ปริยาปันนทุกะ
[1293] สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่านับเนื่องในวัฏฏทุกข์

เชิงอรรถ :
1 ผู้กำลังเข้ากุศลฌานที่เป็นรูปาวจร 2 ผู้กำลังอุบัติด้วยวิปากฌานที่เป็นรูปาวจร
3 ผู้กำลังเข้ากิริยาฌานที่เป็นรูปาวจร 4 ผู้กำลังเข้ากุศลฌานที่เป็นอรูปาวจร
5 ผู้กำลังอุบัติด้วยวิปากฌานที่เป็นอรูปาวจร 6 ผู้กำลังเข้ากิริยาฌานที่เป็นอรูปาวจร (อภิ.สงฺ.อ. 445)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :326 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
[1294] สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
15. นิยยานิกทุกะ
[1295] สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุนำออก
จากวัฏฏทุกข์
[1296] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็น
กุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่
ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุ
ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
16. นิยตทุกะ
[1297] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน เป็นไฉน
อนันตริยกรรม 5 มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอน และมรรค 4 ที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลแน่นอน
[1298] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ-
ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น
17. สอุตตรทุกะ
[1299] สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมอื่นยิ่งกว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :327 }