เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
[1265] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ-
ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
2. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
[1266] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นไฉน
โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3
[1267] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3 เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรม
ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และ
โลกุตตระ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน 3
3. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
[1268] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
สังโยชน์ 3 คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามาส
[1269] บรรดาสังโยชน์ 3 นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :321 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ
เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
เป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ
[1270] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความ
ลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา
[1271] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้
ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส
สังโยชน์ 3 เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 นั้น ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ 3 นั้น กายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรม ที่มีสังโยชน์ 3 นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สังโยชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โลภะ โทสะ
โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ 3 นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ
โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ
นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
[1272] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเหล่านั้นแล้ว สภาว-
ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด
และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรค

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :322 }