เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 บทภาชนีย์
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[27] สติพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าสติพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[28] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[29] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[30] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอาย
ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :32 }