เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
[1242] ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความถ้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความถดถอย กิริยาที่ถดถอย ภาวะ
ที่ถดถอยแห่งใจ นี้เรียกว่าถีนะ1
[1243] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความที่จิตพล่านไป
นี้เรียกว่าอุทธัจจะ2
[1244] อหิริกะ เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ไม่
ละอายต่อการประกอบธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่าอหิริกะ3
[1245] อโนตตัปปะ เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่
ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่าอโนตตัปปะ3
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิเลส
[1246] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกิเลส
2. สังกิเลสิกทุกะ
[1247] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกิเลส

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/546/306 2 อภิ.วิ. 35/552,928/145 3 อภิ.วิ. 35/900/439,930/452

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :315 }