เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์
เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความ
ปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ มูลเหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วง
แห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหา
เหมือนเชือก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้เรียกว่าโลภะ1
[1237] โทสะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิด
ขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำ
ความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา ความ
อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ
เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่
สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความที่จิตพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความ
ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ
เช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
โทสะ1
[1238] โมหะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้
ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ยึดถือโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลง

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/909/442

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :313 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ
ถือเป็นข้อยุติได้ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล
อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่ม
คืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าโมหะ1
[1239] มานะ เป็นไฉน
ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา2 ความถือตัว
กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความยกตน ความเทิดตน ความเชิดชูตนดุจธง ความ
ยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ามานะ3
[1240] ทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด
ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่ง
ทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว
ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าเป็นทิฏฐิ
[1241] วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ
ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง
ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถหยั่งยึดถือโดย
ส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงยึดถือเป็น
ยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/909/442 2 อภิ.วิ. 35/832/1421, ขุ.ม. 29/21/65
3 อภิ.วิ. 35/866/430, ขุ.ม. 29/21/65

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :314 }