เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
2. อุปาทานิยทุกะ
[1225] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[1226] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
3. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[1227] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทาน
[1228] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก
อุปาทาน
4. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
[1229] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็น
ไฉน
อุปาทานนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[1230] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็น
ไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่
เป็นอุปาทาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :310 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
5. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[1231] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน
ทิฏฐุปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุ-
ปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุปาทานเป็นอุปาทาน
และสัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะสีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทานเป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปาทานเพราะกามุปาทาน กามุปาทานเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วย
อุปาทานเพราะอัตตวาทุปาทาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทานและสัมปยุต
ด้วยอุปาทาน
[1232] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเหล่านั้นแล้ว ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน
6. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยทุกะ
[1233] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล
และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[1234] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทานโคจฉกะ จบ
ทุติยภาณวารในนิกเขปกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :311 }