เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วย
ศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือ
ทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ
ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่าสีลัพพตุปาทาน
[1223] อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตน หรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตนหรือเห็นตนมีเวทนา
เห็นเวทนาในตน หรือเห็นตนในเวทนา เห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา
เห็นสัญญาในตน หรือเห็นตนในสัญญา เห็นสังขารเป็นตนหรือเห็นตนมีสังขาร เห็น
สังขารในตนหรือเห็นตนในสังขาร เห็นวิญญาณเป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็น
วิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดาร
คือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือ
ทิฏฐิ ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะ
ที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่าอัตตวาทุปาทาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอุปาทาน
[1224] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ-
ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :309 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
2. อุปาทานิยทุกะ
[1225] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[1226] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
3. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[1227] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุปาทาน
[1228] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก
อุปาทาน
4. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
[1229] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็น
ไฉน
อุปาทานนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[1230] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็น
ไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่
เป็นอุปาทาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :310 }