เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
12. อัชฌัตติกทุกะ
[1213] สภาวธรรมที่เป็นภายใน เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน
[1214] สภาวธรรมที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอก
13. อุปาทาทุกะ
[1215] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[1216] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป 4 และธาตุที่
ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
14. อุปาทินนทุกะ
[1217] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูป
อันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ
[1218] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็น
ไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็น
กิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง
มรรค ผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
มหันตรทุกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :307 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อุปาทานโคจฉกะ
11. อุปาทานโคจฉกะ
1. อุปาทานทุกะ
[1219] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน
อุปาทาน 4 คือ
1. กามุปาทาน
2. ทิฏฐุปาทาน
3. สีลัพพตุปาทาน
4. อัตตวาทุปาทาน1
[1220] บรรดาอุปาทาน 4 นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน
ความยึดมั่นในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหา
ในกาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหลงใหลในกาม ความ
หมกมุ่นในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามุปาทาน
[1221] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า มารดาไม่มีคุณ บิดา
ไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือผิด ความยึดมั่น ความตั้งมั่น
ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐุปาทาน เว้นสีลัพพตุปาทาน
และอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐุปาทาน
[1222] สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. 11/312/205, ม.มู. 12/242/205, สํ.นิ. 16/2/3, สํ.ม. 19/174/55, อภิ.วิ. 35/938/457

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :308 }