เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
9. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ
[1207] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐาน
[1208] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน
10. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ
[1209] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
[1210] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
11. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ
[1211] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
[1212] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :306 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
12. อัชฌัตติกทุกะ
[1213] สภาวธรรมที่เป็นภายใน เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน
[1214] สภาวธรรมที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอก
13. อุปาทาทุกะ
[1215] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[1216] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป 4 และธาตุที่
ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
14. อุปาทินนทุกะ
[1217] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูป
อันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ
[1218] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็น
ไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็น
กิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง
มรรค ผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
มหันตรทุกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :307 }