เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
2. จิตตทุกะ
[1193] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต
[1194] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นจิต
3. เจตสิกทุกะ
[1195] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเจตสิก
[1196] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่เป็นเจตสิก
4. จิตตสัมปยุตตทุกะ
[1197] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยจิต
[1198] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต เป็นไฉน
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก
จิต จิตไม่พึงกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
5. จิตตสังสัฏฐทุกะ
[1199] สภาวธรรมที่ระคนกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
[1200] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :304 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน
กับจิต จิตไม่พึงกล่าวว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
6. จิตตสมุฏฐานทุกะ
[1201] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือรูปแม้
อื่นใดที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
มีจิตเป็นสมุฏฐาน
[1202] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีจิต
เป็นสมุฏฐาน
7. จิตตสหภูทุกะ
[1203] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[1204] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิด
พร้อมกับจิต
8. จิตตานุปริวัตติทุกะ
[1205] สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต
[1206] สภาวธรรมที่ไม่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นไป
ตามจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :305 }