เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปรามาสโคจฉกะ
เว้นสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นปรามาส
2. ปรามัฏฐทุกะ
[1183] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของปรามาส
[1184] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
3. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ
[1185] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยปรามาส
[1186] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาส
4. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ
[1187] สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นไฉน
ปรามาสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
[1188] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :302 }