เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
นิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์
อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ
วิจิกิจฉานิวรณ์ กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจ-
นิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกามฉันทนิวรณ์
พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์
เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะพยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์
และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุต
ด้วยนิวรณ์เพราะถีนมิทธนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์
เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ
กุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์
อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะวิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์
เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิวรณ์และ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์
[1177] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เหล่านั้น เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว ได้แก่
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่
เป็นนิวรณ์
6. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ
[1178] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศลและ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :300 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปรามาสโคจฉกะ
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์
[1179] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
นีวรณโคจฉกะ จบ

9. ปรามาสโคจฉกะ
1. ปรามาสทุกะ
[1180] สภาวธรรมที่เป็นปรามาส เป็นไฉน
คือ ทิฏฐิปรามาส
[1181] ทิฏฐิปรามาส เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ
ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือ
ผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิปรามาส มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐิปรามาส
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปรามาส
[1182] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :301 }