เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
[1161] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน
ถีนมิทธนิวรณ์นั้นแยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง เป็นมิทธะอย่างหนึ่ง
[1162] บรรดา 2 อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความถ้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความถดถอย กิริยาที่ถดถอย ภาวะ
ที่ถดถอยแห่งใจ นี้เรียกว่าถีนะ
[1163] มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา
แห่งกาย ความหาวนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ
กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่ามิทธะ ถีนะและมิทธะดังว่านี้รวม
เรียกว่าถีนมิทธนิวรณ์
[1164] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน
อุทธัจจกุกกุจจะนั้นแยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง เป็นกุกกุจจะอย่างหนึ่ง
[1165] บรรดา 2 อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่จิต
พล่านไป นี้เรียกว่าอุทธัจจะ1
[1166] กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่
มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือดร้อนใจ
ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ากุกกุจจะ1 อุทธัจจะและกุกกุจจะดังว่านี้รวม
เรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
[1167] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/552/307,928/451

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :297 }