เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ โยคโคจฉกะ
[1153] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นคันถะเหล่านั้น เว้นคันถะเหล่านั้น
แล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
6. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ
[1154] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล
และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะ
[1155] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็น
ไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
คันถโคจฉกะ จบ

6. โอฆโคจฉกะ
1. โอฆทุกะ
[1156] สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ เป็นไฉน ฯลฯ
โอฆโคจฉกะ จบ

7. โยคโคจฉกะ
1. โยคทุกะ
[1157] สภาวธรรมที่เป็นโยคะ เป็นไฉน ฯลฯ
โยคโคจฉกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :295 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
8. นีวรณโคจฉกะ
1. นีวรณทุกะ
[1158] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
นิวรณ์ 6 คือ

1. กามฉันทนิวรณ์ 2. พยาปาทนิวรณ์
3. ถีนมิทธนิวรณ์ 4. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
5. วิจิกิจฉานิวรณ์ 6. อวิชชานิวรณ์

[1159] บรรดานิวรณ์ 6 เหล่านั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาใน
กาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหลงใหลในกาม ความหมกมุ่น
ในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามฉันทนิวรณ์
[1160] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิด
ขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำ
ความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา ความ
อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ
เจริญแก่คนที่ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่
สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง
ความขุ่นเคือง ความที่จิตพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย
ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มี
ลักษณะเช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิด
ประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ
ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่น
ว่านี้ นี้เรียกว่าพยาปาทนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :296 }