เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ คันถโคจฉกะ
[1144] อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ โลกไม่เที่ยง นี่แหละ
จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ โลกไม่มีที่สุด นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นเป็นโมฆะ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็น
ผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร
แห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทาง
ชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เว้นสีลัพพตปรามาส-
กายคันถะแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นคันถะ
[1145] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
เว้นคันถะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ
ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่เป็นคันถะ
2. คันถนิยทุกะ
[1146] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะ
[1147] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :293 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ คันถโคจฉกะ
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
3. คันถสัมปยุตตทุกะ
[1148] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยคันถะ
[1149] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะเหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากคันถะ
4. คันถคันถนิยทุกะ
[1150] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน
คันถะเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
[1151] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน
เว้นคันถะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ คือ สภาวธรรมที่
เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
5. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ
[1152] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะเพราะ
อภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะเพราะ
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วย
คันถะเพราะอภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ
เพราะอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นคันถะและสัมปยุต
ด้วยคันถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :294 }