เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ
สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะภวราค-
สังโยชน์ อิสสาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์
อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอิสสาสังโยชน์ มัจฉริย-
สังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์
เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะมัจฉริยสังโยชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
[1137] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วย
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
6. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
[1138] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ คือ สภาวธรรม
ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร
และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุต
จากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
[1139] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สัญโญชนโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :290 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ คันถโคจฉกะ
5. คันถโคจฉกะ
1. คันถทุกะ
[1140] สภาวธรรมที่เป็นคันถะ เป็นไฉน
คันถะ 4 คือ
1. อภิชฌากายคันถะ
2. พยาปาทกายคันถะ
3. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
4. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ1
[1141] บรรดาคันถะ 4 นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความ
จมอยู่ ธรรมชาติที่คร่าไป ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด
ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่
กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติ
ที่ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหา
เหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน
ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น
ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร
ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง
ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่
ละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะ
อันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความ
กระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ม. 29/81,147/273, อภิ.วิ. 35/938/45

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :291 }