เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลง
โดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ
โมหะ นี้เรียกว่าอวิชชาสังโยชน์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสังโยชน์
[1129] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศลและ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นสังโยชน์
2. สัญโญชนิยทุกะ
[1130] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
[1131] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรค ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
3. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[1132] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสังโยชน์
[1133] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :288 }