เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ
ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียก
ว่าสีลัพพตปรามาสสังโยชน์
[1125] ภวราคสังโยชน์ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ
สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ ใน
ภพทั้งหลาย นี้เรียกว่าภวราคสังโยชน์
[1126] อิสสาสังโยชน์ เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความกีดกัน กิริยาที่กีดกัน ภาวะ
ที่กีดกันในลาภสักการะ ความเคารพ นับถือ ไหว้ และบูชาของคนอื่น นี้ชื่อว่า
อิสสาสังโยชน์
[1127] มัจฉริยสังโยชน์ เป็นไฉน
มัจฉริยะ 5 คือ

1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น
ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ามัจฉริย-
สังโยชน์
[1128] อวิชชาสังโยชน์ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :287 }