เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
อีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิด
อีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิดป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ
ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ
ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐาสวะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐาสวะ
[1106] อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้
ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดย
รอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล
อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา
ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอวิชชาสวะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่เป็นอาสวะ
[1107] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอาสวะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอาสวะ
2. สาสวทุกะ
[1108] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :282 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของอาสวะ
[1109] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
3. อาสวสัมปยุตตทุกะ
[1110] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตด้วยอาสวะ
[1111] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากอาสวะ
4. อาสวสาสวทุกะ
[1112] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะชื่อว่าเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
[1113] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
สภาวธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เว้นอาสวะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็น
กุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
5. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ
[1114] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :283 }