เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ
สัมปยุตด้วยเหตุเพราะโทสะ อโลภะ อโทสะ และอโมหะนั้นเป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุเพราะอาศัยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
[1086] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
6. นเหตุสเหตุกทุกะ
[1087] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
[1088] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุและ
ไม่มีเหตุ
เหตุโคจฉกะ จบ

2. จูฬันตรทุกะ
1. สัปปัจจยทุกะ
[1089] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน
ขันธ์ 5 คือ
1. รูปขันธ์
2. เวทนาขันธ์
3. สัญญาขันธ์
4. สังขารขันธ์
5. วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจัยปรุงแต่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :277 }