เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ จูฬันตรทุกะ
สภาวธรรมที่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ามีเหตุ
[1080] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และ
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุ
3. เหตุสัมปยุตตทุกะ
[1081] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเหตุ
[1082] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากเหตุ
4. เหตุสเหตุกทุกะ
[1083] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน
โลภะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโลภะ โทสะ
เป็นเหตุและมีเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและมีเหตุเพราะโทสะ อโลภะ อโทสะ
และอโมหะนั้นเป็นเหตุและมีเหตุเพราะอาศัยกันและกัน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
เหตุและมีเหตุ
[1084] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรม(ที่เป็นเหตุ)เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่มีเหตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์
ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
5. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
[1085] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน
โลภะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุเพราะโลภะ โทสะเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุเพราะโมหะ โมหะเป็นเหตุและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :276 }