เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
[1076] อโมหะ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีตและ
อนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความ
เข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญา
เครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือน
ปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือน
ปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่าอโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกุศล
[1077] เหตุที่เป็นอัพยากฤต 3 เป็นไฉน
อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นอัพยากฤต 3
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นโลกุตตระ 6
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุ
[1078] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้นซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุ
2. สเหตุกทุกะ
[1079] สภาวธรรมที่มีเหตุ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :275 }