เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
ทุกนิกเขปะ
1. เหตุโคจฉกะ
1. เหตุทุกะ
[1059] สภาวธรรมที่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศลมี 3 เหตุที่เป็นอกุศลมี 3 เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี 3 เหตุที่เป็น
กามาวจรมี 9 เหตุที่เป็นรูปาวจรมี 6 เหตุที่เป็นอรูปาวจรมี 6 เหตุที่เป็นโลกุตตระ
มี 6
[1060] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นกุศล 3 เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศล 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
[1061] บรรดาเหตุที่เป็นกุศล 3 นั้น อโลภะ เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ
[1062] อโทสะ เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความมีไมตรี กิริยาที่สนิทสนม ภาวะที่สนิทสนม ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ภาวะที่
เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิด
เบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ
[1063] อโมหะ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีตและ
ส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :271 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เป็นกุศล 3
[1064] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นอกุศล 3 เป็นไฉน
เหตุที่เป็นอกุศล 3 คือ โลภะ โทสะ และโมหะ
[1065] บรรดาเหตุที่เป็นอกุศล 3 นั้น โลภะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความ
จมอยู่ ธรรมชาติที่คร่าไป ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติ
ที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ
ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติที่
ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือน
ป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความ
หวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความ
หวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร
ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง
ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่
ละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะ
อันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความ
กระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา
อรูปตัณหา นิโรธตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง
เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :272 }