เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์1
[1054] สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์1
[1055] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็น
ไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภาย
นอกตนเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์1
22. สนิทัสสนติกะ
[1056] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน
รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้และกระทบได้1
[1057] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้แต่
กระทบได้1
[1058] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้1
ติกนิกเขปะ จบ

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 93

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :270 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ เหตุโคจฉกะ
ทุกนิกเขปะ
1. เหตุโคจฉกะ
1. เหตุทุกะ
[1059] สภาวธรรมที่เป็นเหตุ เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศลมี 3 เหตุที่เป็นอกุศลมี 3 เหตุที่เป็นอัพยากฤตมี 3 เหตุที่เป็น
กามาวจรมี 9 เหตุที่เป็นรูปาวจรมี 6 เหตุที่เป็นอรูปาวจรมี 6 เหตุที่เป็นโลกุตตระ
มี 6
[1060] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เหตุที่เป็นกุศล 3 เป็นไฉน
เหตุที่เป็นกุศล 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
[1061] บรรดาเหตุที่เป็นกุศล 3 นั้น อโลภะ เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่าอโลภะ
[1062] อโทสะ เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความมีไมตรี กิริยาที่สนิทสนม ภาวะที่สนิทสนม ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ภาวะที่
เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิด
เบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่าอโทสะ
[1063] อโมหะ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ในส่วนอดีตและ
ส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :271 }