เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[1043] สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอน เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ยังไม่ให้ผล ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ และรูปที่กรรมปรุงแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าจักเกิดขึ้นแน่นอน1
18. อตีตติกะ
[1044] สภาวธรรมที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสูญแล้ว เกิดขึ้นดับไปแล้ว ที่ล่วงไปแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ล่วงไปแล้ว
ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอดีต1
[1045] สภาวธรรมที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สภาวธรรมที่ยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ยังไม่
มาถึง สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง ได้แก่ รูปขันธ์ เวนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนาคต1
[1046] สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่กำลังเกิด กำลังเป็น กำลังเกิดพร้อม กำลังบังเกิด กำลังบังเกิด
เฉพาะ กำลังปรากฏ กำลังเกิดขึ้น กำลังเกิดขึ้นพร้อม กำลังตั้งขึ้น กำลังตั้งขึ้นพร้อม
กำลังเกิดขึ้นเฉพาะ สงเคราะห์ด้วยส่วนที่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้แก่ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นปัจจุบัน1
19. อตีตารัมมณติกะ
[1047] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 93

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :268 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอดีตเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ามีอดีตธรรมเป็นอารมณ์1
[1048] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอนาคตเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์1
[1049] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์1
20. อัชฌัตตติกะ
[1050] สภาวธรรมที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดแต่ตน เป็นของเฉพาะแต่ละ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ของสัตว์นั้น ๆ ได้แก่ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
ภายในตน1
[1051] สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นภายในตน เป็นของเฉพาะตน เกิดแต่ตน เป็นของเฉพาะ
แต่ละบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ของสัตว์อื่น ของบุคคล
อื่นนั้น ๆ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอกตน1
[1052] สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตน เป็นไฉน
สภาวธรรมทั้งสองประเภทที่กล่าวมานั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน
ตนและภายนอกตน1
21. อัชฌัตตารัมมณติกะ
[1053] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ.อ. 92

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :269 }